วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ข่าวสารงานบุญ

เฟสบุ๊ค เพจ ศิษย์วัดโนนสว่าง https://www.facebook.com/643794349035925
 
เฟสบุ๊ค กลุ่ม ศิษย์วัดโนนสว่าง  https://www.facebook.com/groups/542771909168564
 
 






ประวัติพระศรีรัตนศักยมุนี (หลวงพ่อบุษราคัม)


ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2548 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานเททองหล่อพระศรีรัตนศักยมุนี (หลวงพ่อบุษราคัม) ณ วัดโนนสว่าง ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

   ประวัติความเป็นมาในการสร้างพระพุทธรูป เพื่อเป็นองค์พระประธานในอุโบสถวัดโนนสว่างต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี มีความเป็นมาว่า พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (พระอาจารย์เจริญ ฐานยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดโนนสว่างก่อนที่ท่านจะดำริถึงการสร้างอุโบสถก็ได้นิมิตเห็นพระพุทธรูป 3 องค์ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องได้เสด็จมาทางนภากาศในปางขัดสมาธิ ได้เปล่งแสงรัศมีสว่างไสวไปทั่วทั้งวัด ตามในนิมิตของท่านได้มาหยุดอยู่ตรงหน้า ท่านจึงได้กราบเรียนถามพระพุทธรูปทรงเครื่องทั้งสามองค์นั้นว่า ท่านเสด็จมาจากไหน และมาเพื่ออะไร พระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ตอบกับท่านเป็นภาษาเหนือว่า “มาชุ่มมาเย็นให้” หรือจะนำความเจริญรุ่งเรืองมาให้วัดนี้ พอพระพุทธรูปทั้งสามองค์กล่าวกับท่านเช่นนั้นแล้ว พลันกลับกลายเป็นแสงสว่างดุจประทีปอันโชติช่วงลอยไปดับลงตรงลานดินกว้างหน้าศาลาการเปรียญซึ่งเป็นอุโบสถในทุกวัน พอรุ่งเช้าของวันต่อมาขณะที่ท่านนั่งอยู่ในกุฎิ ก็ได้มีพระเถระซึ่งเป็นที่เคารพนับถืออย่างยิ่งจำนวน 3 รูป เดินทางมาจากวัดอนาลโยทิพยาราม (ดอยบุษราคัม อ.เมืองพะเยา คือพระราชสังวรญาณ (พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล) แห่งวัดอนาลโยทิพยาราม ดอยบุษราคัมนั้นเอง โดยที่พระครูพิพัฒน์วิทยาคมไม่ทราบมาก่อนว่าท่านเจ้าคุณจะมาเยี่ยมที่วัดโนนสว่าง ซึ่งระยะทางจาก จ.พะเยา มายัง จ.อุดรธานี ไกลมาก เมื่อท่านได้กราบนมัสการหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคฺโล เรียบร้อยแล้ว ท่านก็นึงถึงนิมิตของท่านที่คล้ายเหตุการณ์ในวันนี้ ท่านจึงกราบเรียนเล่าเรื่องราวในนิมิตให้หลวงพ่อไพบูลย์สดับฟัง เมื่อฟังจบหลวงพ่อไพบูลย์ก็ยิ้มคล้ายกับว่าเป็นเรื่องไม่น่าแปลกอะไร เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจให้กับท่านพระครูยิ่งนัก อีกนัยหนึ่งเหมือนหลวงพ่อไพบูลย์รู้เรื่องที่จะเล่าถวาย
ท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณ เป็นพระเถระที่พระครูพิพัฒน์วิทยาคม ให้ความเคารพและนับถือยิ่ง หลังจากที่ได้เล่าเนื้อความตามนิมิตถวายให้หลวงพ่อไพบูลย์ฟังเสร็จแล้ว ไม่นานท่านจึงเดินทางกลับ จ.พะเยา ต่อมาท่านพระครูพิพัฒน์วิทยาคม ได้ตั้งสัจจะไว้ในใจว่าจะต้องสร้างพระประธานเพื่อประดิษฐานไว้ในอุโบสถ หน้าตักกว้าง 109 นิ้ว เป็นเนื้อทองสัมฤทธิ์ให้ได้ ในชั้นแรกพระประธานที่ท่านจะให้ช่างปั้นขึ้นมานี้ไม่ใช่หลวงพ่อบุษราคัม แต่ให้ปั้นตามแบบพระพุทธรูปเก่าองค์หนึ่งซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์เก่าแก่ ศิลปะแบบลานช้าง ท่านก็ได้บอกลักษณะของพระพุทธรูปองค์นั้นให้ช่างฟัง ต่อมาช่างได้ปั้นตามความต้องการของท่าน เมื่อช่างได้ปั้นขึ้นถึงพระพักตร์ของพระพุทธรูปจึงนิมนต์ท่านมาดู เมื่อพิจารณาดูแล้วท่านก็บอกกับช่างว่าพระพักตร์ไม่เหมือนเลยไม่เป็นที่พอใจ จึงให้ปั้นใหม่ ช่างปั้นกี่ครั้ง ๆ ก็ไม่เป็นที่พอใจ ทำให้ท่านพระครูเกิดความสงสัยขึ้นในใจว่า “ทำไมปั้นไม่ได้สักทีด้วยว่าฝีมือช่างก็ไม่ธรรมดา” ท่านจึงพินิจพิจารณาพระพุทธรูปโดยละเอียดอีกครั้งด้วยความประหลาดใจ คิดในใจว่า “ทำไมถึงปั้นไม่ได้สักที” ทันใดนั้นกลับมีเสียงหนึ่งดังกังวานแว่วกล่าวกับตัวท่านว่า “เรามาขออยู่ตั้งนานแล้ว ทำไมไม่ปั้นเรา ทำไมต้องไปปั้นองค์อื่น” พอเสียงกังวานนั้นหายไปไม่นาน ท่านก็เลยย้อนนึกถึงนิมิตเมื่อคราว
ครั้งก่อน เมื่อคิดโดยละเอียดถี่ถ้วน จึงเข้าใจในนิมิตธรรมอันประเสริฐนั้น ต่อมาจึงให้ช่างเลิกปั้นพระพุทธรูปตามแบบองค์เดิม ให้ปั้นตามแบบดั่งในนิมิตนั้นเอง เป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง เมื่อช่างเริ่มปั้นทุกอย่างเป็นที่ราบรื่น เมื่อแล้วเสร็จจึงนิมนต์ท่านพระครูมาดู เมื่อท่านพิจารณาดูแล้วจึงพูดว่า “นี่แหละเหมือนกับที่เห็นในนิมิตเรา” นับว่าเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ยิ่งนักสำหรับพระประธานองค์นี้ต่อมาท่านได้ขอให้ท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อไพบูลย์) ถวายพระนามพระปฏิมากรองค์สำคัญ ท่านถวายพระนามว่า “พระศรีรัตนศักยมุนี” ทราบเรื่องจากท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณในภายหลังว่า ตัวท่านไม่ได้เป็นผู้ถวายพระนาม แท้จริงผู้ถวายพระนามคือ ท้าวสักกะเทวราช

   พระศรีรัตนศักยมุนี หรือที่เรียกอีกนามว่า หลวงพ่อบุษราคัม องค์นี้ท่านพระครูพิพัฒน์วิทยาคมกล่าวว่า ภายหน้าจักเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองในเขตนี้ ด้วยว่าเป็นพระพุทธรูปขององค์กษัตริย์ ผู้ที่จะเททองหล่อต้องไม่ใช่สามัญชนธรรมดา ต้องเป็นผู้มีบุญญาธิการเปี่ยมล้น ต้องเป็นเจ้าฟ้ามหากษัตริย์พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ประดุจพระพุทธรูปองค์สำคัญในครั้งโบราณกาล เช่น หลวงพ่อพระใส พระเสริม พระสุก ที่เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งพระราชธิดาแห่งกษัตริย์ล้านช้างเป็นผู้สร้างขึ้นเป็นพระพุทธรูปควรแก่การกราบสักการะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตกาลชั่วลูกชั่วหลาน นับเป็นพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานเททองหล่อพระพุทธปฏิมากรองค์สำคัญ ในวันที่ 29 มกราคม 2548 อันนำมาซึ่งความปิติยินดีเป็นล้นพ้นแก่เหล่าพสกนิกร ชาวอำเภอหนองวัวซอ และชาวจังหวัดอุดรธานีทุกผู้ทุกนาม.

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ธรรมะ หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต


 
ธรรมะ พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต)


พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นของดีรักษาตัวเราทุกคน
"พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ"
หมั่นทำบุญรักษาศีล เพื่อหนทางไปสวรรค์

 

หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต ท่านสอนโยมไต้หวันคืนวันที่21มิถุนายน2556 มีใจความว่าคำสอนพระพุทธเจ้ารวมแล้วมีสองข้อคือดีกับชั่ว สองอย่างให้เลือก แต่จงเลือกดีทำดีพูดดีคิดดีพอ


 
ธรรมะ5ปี บ่ายวันที่20มิถุนายน2556 ขณะนั่งรถกลับจากเมืองซูหลินเข้าไทเป หลวงพ่อเจริญท่านเมตตาเทศธรรมะ5ปีให้ฟังว่า ครั้งแรกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโนนสว่างท่านอธิฐานไว้5ปี 5ปี
นี้คือจะไม่ด่าไม่สอนไม่โกรธไม่อิจฉาริษยาใคร ท่านว่า เพราะ ท่านพินิจดูแล้วท่านมาเป็นเจ้าอวาสไม่ใช่รุ่นบุกเบิกวัดโนนสว่าง วัดเคยมีเจ้าอาวาสมาก่อนหลายรุปแล้ว ท่านเลยเอาธรรมะ5ปีมาใช้ ห้าปีต้อง่สร้างความดีให้เหนือเจ้าอาวาสรุ่นก่อน ความดี ต้องเหนือคน ท่านว่า เงียบอย่างเดียวห้าปี ไม่พูดแบบว่า

การเป็นเจ้าอาวาสก็มีอุปสรรคน่ะท่านว่า มีสารพัดอย่าง คนติฉินนินทา อดเอาทนเอา ขันติบารมีงัดมาใช้อาวุธพระ ถ้าห้าปีความดีไม่เหนือคนอย่าคุยอย่าอ้วดอย่าสอนคนเลยไม่มีประโยนชท่านว่านี้เป็นธรรมะห้าปีมาฝากทุกคนใด้คิดพินิจเพื่อจะเป็นประโยนชกับชีวิตประจำกับเช้าๆวันนี้

ที่มา:พระอาจารย์ทัย อุทโย


“ให้มนุษย์โลกตั้งตนอยู่ในศีล หมั่นสร้างกุศลบำเพ็ญภาวนา เพื่อจะได้ไปเกิดในสวรรค์ และถ้าหากใครอยากจะไปเกิดอยู่ในนรกอเวจี ก็ให้สร้างกรรมเวร จะได้จมอยู่ใต้นรกอเวจี”

 
 
เกิดเป็นคนมนุษย์มีแต่อยากกับอยากเหมิด แนวบ่อยากบ่มี อยากร่ำอยากรวย อยาได้ผัวกะอยากได้ผัวรวยอยากมังอยากมีปรารถนาหมด พระกะปรารถนาคือกันปรารถนาไปพระนิพพานสวรรค์คือกัน กะให้พากันรักษาศีลให้ทาน บ่มีไผ๋อยากมาเกิดอีกเทวดากะคือกัน หวังนิพพานคือกัน

หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต
(เทศน์ไว้เมื่อวันที่20เมษายน2557 ณ วัดพุทธรังษี ประเทศไต้หวัน)


"อันคนเฮานี่ต้องฮู้จักประเมิณแฮง เฮ็ดหยังกะต้องเบิ่งแฮงจะของอย่าสุไปฝืน เป็นคือจังลมพัด คันแฮงลมมีหน่อย ไปพัดของที่มันชิ้นใหญ่พัดจังใด๋มันกะบ่ปลิว แต่คันของสมแฮงลมมันกะปลิวโดยง่าย "

พระครูพิพัฒน์วิทยาคม(หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต)

ให้พาการถือพระไหว้พระ
ให้เอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่ตั้ง
ให้พากันถือไตรสรณคมณ์เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
สูพากันไหว้ผีไหว้เจ้าถือฤษี พญานาค ไหว้เจ้า
เข้าทรงมีแต่มันสิครอบงำสูสิกินหัวสูหมดนั้นหละ
มีบ่หยังสิใหญ่กว่าพระพุทธเจ้าบ่มีหยังสิเกินคำสอนของพระพุทธเจ้า 
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ดีที่สุด

พระครูพิพัฒน์วิทยาคม(หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต)

 


"การสิเฮ็ดหยังกะตาม เฮ็ดให่มันเหนือคนอย่าให่เขาเว่าให่เฮาได่ 
นังภาวนาคือกัน บ่วาสิอยู่ในท่าใดให่ระลึกอยู่ตลอดมันสิชนะทั้งปวง
แม้กระทั่งใจเฮา และใจผุอื่น ให่จำไว่ "

พระครูพิพัฒน์วิทยาคม(หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต)


 


ประวัติโดยสังเขป พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (เจริญ ฐานยุตฺโต)

พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (เจริญ ฐานยุตฺโต)
นามเดิม เจริญ นามสกุล สารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๗ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๔ ที่บ้านหนองวัวซอ อุดรธานี บิดาเดิมเป็นชาวอุบลราชธานีชื่อ นายสงวน สารักษ์ มารดาเป็นชาวบ้านเชียงหวาง อำเภอเพ็ญ อุดรธานี ชื่อนางฮวด สารักษ์ เชื้อสายทางบิดาเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิดเกี่ยวพันเป็นลูกหลานเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ และหลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน หนองวัวลำภู มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๑๐ คนเป็นชาย ๘ คน หญิง ๒ คน เป็นคนที่ ๖

 บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบุญญานุสรณ์ อำเภอหนองวัวซอ อุดรธานี มีพระครูประสิทธิ์คณานุการ อดีตเจ้าคณะอำเภอหนองวัวซอ ธรรมยุต เป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะเป็นสามเณรได้สนใจศึกษาหัดอ่านเขียนคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมอีสานกับพ่อใหญ่มั่นผู้เฒ่าที่ปราชญ์ชาวบ้านซึ่งสามารถอ่านเขียนและจารอักษรธรรมอีสานได้ และท่านผู้นี้เป็นฆราวาสที่มีอาคมด้วย จึงได้เรียนอักษรธรรมและอาคมบ้างพอประมาณ ต่อมาจึงสามารถอ่านเขียนอักษรธรรมล้านนาและอักษรไทยน้อยได้จนแตกฉานและสามารถจารหนังสือใบลานได้ตั้งแต่บรรพชาไม่ถึง ๒ พรรษา ความที่ไม่เข้าใจว่าทำไมชาวบ้านจึงนับถือภูตผีปีศาจ จึงศึกษาถึงที่มาที่ไปจนผ่านไปหลายปีจึงทราบได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงให้เลิกนับถือสิ่งเหล่านั้นและให้ถือพระรัตนตรัยแทน จึงเริ่มสนใจในวิชาพุทธาคมและเริ่มศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาข้อความในคัมภีร์ซึ่งต่อมาทำให้เป็นผู้มีความรอบรู้ในเรื่องพระคัมภีร์อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเรื่องพระสูตร เรื่องราวในทางธรรมะต่างๆ ตำรายาแผนไทยโบราณ ตำราดวงชะตา ตำราลงอักขระปลุกเสกต่างๆ ซึ่งได้ศึกษาพอประมาณ



 
 
 
ต่อมา จึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์สมพงษ์หรือพระธรรมสังวร วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ อุดรธานีเรียนวิชาลงตะกรุดโทนและวิชารักษาคนผู้ถูกมนต์ทำร้ายเป็นต้น และอาศัยอยู่กับหลวงปู่โถน พระครูสถิตธรรมรัตน์ วัดโสกแจ อำเภอกุดจับ อุดรธานี ได้เรียนวิชาลงตะกรุดหกกษัตริย์ และกบตายคารู และลงนะหน้าทอง และอีกหลายอย่าง เป็นสามเณรอุปัฏฐากอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู เป็นต้น
หลวงปู่โถน พระครูสถิตธรรมรัตน์
 
หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู
 
เมื่ออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดป่าสามัคคีอุปถัมภ์ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย โดยมีท่านพระครูสิริธรรมวัฒน์ (หลวงพ่อทองพูล สิริกาโม)เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินัยกิตติโสภณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุนทรนวกิจ วัดอรุณรังษี เป็นพระอนุสวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ฐานยุตฺโต ในคณะ ธรรมยุต
พระครูสิริธรรมวัฒน์ (หลวงพ่อทองพูล สิริกาโม)

เมื่ออุปสมบทแล้วได้ไปจำพรรษาอยู่กับพระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่เมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง นครราชสีมา หลวงปู่ให้เรียนเอาวิชาเมตตาหลวง ตำราเลขยันต์ คาถาลงตะกรุดโทน แคล้วคลาด ยันต์ตรีนิสิงเห และสอนให้บริกรรมธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ นะ มะ พะ ทะ หลายปีต่อมาขณะจำพรรษาอยู่วัดป่าพรรณนานิคม ได้พบหลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จังหวัดสุรินทร์
 
พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่เมตตาหลวง)
 วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง นครราชสีมา
 
 
เมื่อหลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน หนองบัวลำภู มรณภาพลง ได้มางานพระราชทานเพลิงศพท่านและได้รับนิมนต์ให้อยู่ต่อ ต่อมาพระครูพุทธศาสโนวาท (ชาลี) เจ้าอาวาสวัดศรีสว่าง (ชื่อวัดในขณะนั้น) ถึงแก่มรณภาพลง จึงได้อยู่ช่วยงานศพจนแล้วเสร็จ ชาวบ้านจึงอาราธนาให้จำพรรษาที่วัดนั้น และขอให้ช่วยพัฒนาวัดด้วยเพราะเป็นวัดในอำเภอบ้านเกิด จนกระทั่งได้รับแต่งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ต่อมาเปลี่ยนชื่อวัดศรีสว่างเป็น วัดโนนสว่าง และจำพรรษาอยู่จนปัจจุบัน ตั้งแต่มาช่วยพัฒนาอารามแห่งนี้ก็เจริญ รุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ พระครูพิพัฒน์วิทยาคมก็ได้ใช้สรรพวิชาพุทธาคมที่ได้เล่าเรียนมาตั้งแต่เป็นสามเณรช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนทั่วไปตามกำลังที่มี
 
ส่วนการสร้างวัตถุมงคลและปลุกเสกวัตถุมงคลนั้นได้ทำตามตำหรับวิชาผึ้งพันน้ำมันหมื่น จนทำให้วัตถุมงคลเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การนำไปสักการะบูชา ผู้สืบสานตำหรับวิชาพุทธาคมอีสานโบราณผึ้งพัน น้ำมันหมื่น
ในการปลุกเสกวัตถุมงคลของพระครูพิพัฒน์วิทยาคม ในขณะปลุกเสกนั้น จะต้องนั่งบนอาสนะที่หล่อด้วยขี้ผึ้งแท้หนัก ๔๐,๐๐๐ หรือ ๔๘ กิโลกรัม และบริกรรมธาตุและพระคาถาด้วยลูกประคำงาช้างจำนวน ๒๑๖ ลูก และสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการพิธีศักดิ์สิทธิ์นี้คือ ครุภัณฑ์ ซึ่งก็คือเครื่องบูชาพระรัตนตรัยชุดใหญ่ อันประกอบด้วยเครื่องบูชาตามตำหรับโบราณหลายชนิดเช่น เครื่องพัน หมายถึงจำนวนละพันชิ้น และน้ำมันหมื่น อันได้แก่น้ำมันหลายชนิดเช่นน้ำมันงา หรือน้ำมันยางแบบโบราณแท้ ซึ่งทั้งหมดทั้งนั้นก็ คือเครื่องบูชาพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตั้งแต่สมัยโบราณ กล่าวกันสืบๆมาว่า ครูบาอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมสายอีสานโบราณจนถึงผู้ทรงวิทยาคมทางฝั่งลาวหากจะเรียนสรรพวิทยาคมต่างๆ หรือจะลงประจุคาถาอาคมลงในวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นนั้น ต้องแต่งเครื่องบูชาด้วยเครื่องบูชาที่เรียกว่า ผึ้งพัน น้ำมันหมื่นเท่านั้น เมื่อแต่งเครื่องบูชาแล้วจึงเริ่มทำพิธีมหาพุทธาภิเษก และลงประจุอาคม ที่สำคัญต้องกระทำการในวันบุญมหาชาติเท่านั้น จึงจะได้วัตถุมงคลที่ศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังมีอานุภาพเต็มเปี่ยมไปด้วยพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพและสังฆานุภาพ





ผึ้งพัน ประกอบด้วยเทียนขี้ผึ้งแท้ หนึ่งพันเล่ม ธูปพันดอก เมี่ยงหมากพันชุด บุหรี่พันมวน ดอกไม้ประกอบด้วย ดอกผักตบ ดอกบัวหลวง ดอกอัญชัน ดอกปีบ (ดอกก้านของ) ดอกโสน (ใช้ลำโสนมาแต่งเป็นดอกไม้) ดอกคัดเค้า ขันบายศรี ข้าวเหนียวปั้นพันก้อน กรวยกระทงใบฝรั่งพันกรวย เงินพันบาท ธงช่อ ธงหาง ข้าวคั่วตอกแตก จัดให้ได้อย่างละพัน พอสังเขปเท่านี้ และมีอีกหลายชนิดที่ไม่ขอกล่าวถึง

 น้ำมันหมื่น โบราณใช้น้ำมันยาง หรือน้ำมันงาหนักหนึ่งหมื่น ใส่กระปุกหรือขวดแก้ว ทุกอย่างที่กล่าวใส่ลงในภาชนะพานโตก หรือภาชนะจักสานขนาดใหญ่ ส่วนเทียนขี้ผึ้งห่อรวมกันไว้ด้วยผ้าขาวแล้วพันด้วยด้ายฝ้ายดิบสีขาว ทุกอย่างรวมเรียกว่า ครุภัณฑ์ เป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า นี่คือที่มาของคำว่าผึ้งพัน น้ำมันหมื่นที่พระครูพิพัฒน์วิทยาคมใช้เป็นเครื่องบูชาพระธรรมในการพิธีพุทธาภิเษกของวัดโนนสว่างตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน

 พิธีพุทธาภิเษกของวัดโนนสว่างนั้น จะมีตำราสวดพุทธาภิเษกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระครูพิพัฒน์วิทยา เป็นสมุดไทย ๑ ชุดมีจำนวน ๔ เล่มใหญ่ มีชุดที่เป็นอักษรธรรมเขียนด้วยลายมือท่านเอง และชุดที่พิมพ์ด้วยอักษรไทย ซึ่งเนื้อหาจะประกอบด้วยพระคาถามากมายเป็นเอกลักษณะเฉพาะ


 
จึงสรุปได้ว่า พิธีพุทธาภิเษกจะต้องดำเนินไปด้วยความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ และถูกต้องตามระเบียบแบบแผนตามแนวทางของผู้ทรงวิทยาคมอีสานโบราณ

“เส็งกลองกิ่ง” เป็นประเพณีปฏิบัติโบราณอย่างหนึ่งที่ชาวอีสานนิยมละเล่นและแข่งขันกันในงานบุญ

"เส็ง" หมายถึงการแข่งขัน

“กลองกิ่ง” เป็นกลองที่จัดทำขึ้นมาเพื่อตีประโคมให้เกิดเสียงดัง ต่อมาได้มีการนำมาประชันหาความเด่นว่ากลองคู่ใดจะมีเสียงดังกว่ากลองอื่นๆ จนเกิดเป็นการแข่งขันเอาแพ้เอาชนะเอาชื่อเสียงให้กับวัดหรือหมู่บ้าน
ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ไม่ค่อยเข้าวัดทำให้ประเพณีดังกล่าวได้ถูกลืมเลือนจนเกือบจะสูญพันธ์ โชคดีที่หลวงพ่อเจริญท่านได้เข้ามาช้อนอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นใหม่หรือคนรุ่นเก่าที่ไม่เห็นคุณค่าได้ชม ได้ศึกษากัน

 

 
สมณศักดิ์และหน้าที่การงานทางคณะสงฆ์

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโนนสว่าง
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร
เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี มีราชทินนามที่ พระครูพิพัฒน์วิทยาคม
วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2542 เป็นเจ้าคณะตำบลหมากหญ้า ธรรมยุต
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ เจ้าคณะตำบลชั้นโท
วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
 
ผลงานที่ปรากฏแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป

1. มีการฝึกอบรมการปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิแก่เยาวชนและพุทธศาสนิกชนทั่วไป
2. จัดให้มีการบวชชีพราหมณ์ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และมีผู้เข้าร่วมการบวชชีพราหมณ์เพื่อรักษาศีลและปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก
3. มีการเทศน์อบรมธรรมในวันธรรมสาวนะแก่พระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ตลอดถึงเยาวชนเพื่อให้ทราบข้อธรรมในการที่จะปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ
4. ได้ฟื้นฟูวัฒนธรรมอีสานโดยให้มีการดำรงและอนุรักษ์ไว้ซึ่งประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสานตามหลักฮีต 12 ครอง 14 เช่น ประเพณีบุญพระเวสสันดรตามหลักโบราณของอีสาน เป็นต้น
5. โน้มน้าวให้เยาวชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของวัด เช่น จัดให้มีคณะตีกลองยาวไปแสดงในเทศกาลบุญต่าง ๆ อันเป็นการเสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีในกลุ่มเยาวชนและเสริมสร้างรายได้พิเศษให้แก่เยาวชนเหล่านั้น
6. มีการส่งเสริมการขับร้องสารภัญญะและการแข่งขันกลองกริ่งซึ่งเป็นประเพณีโบราณของชาวอีสานโดยจัดให้มีการประกวดการขับร้องสารภัญญะและการแข่งขันตีกลองกริ่งในวันออกพรรษาทุก ๆ ปี มีโล่เกีรยติยศพร้อมเงินสดและใบประกาศนียบัตร
7. มีการส่งเสริมให้เลิกดื่มสุราและงดยาเสพติดโดยการสาบานตนต่อหน้าพระประธานและดื่มน้ำพุทธมนต์
8. สืบสานวัฒนธรรมประเพณีการทอดกฐินแบบจุลกฐิน ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยากในปัจจุบันโดยงานประเพณีนี้ได้มีการจัดขบวนแห่เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนต่าง ๆ ตามลำดับของงานจุลกฐิน
9. งานบุญประเพณีตามเทศบาลต่าง ๆ ที่ทางวัดได้จัดขึ้น ได้เป็นศูนย์รวมใจและก่อให้เกิดความสามัคคีของประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปและชาวต่างชาติ
10. ได้จัดให้มีการฟื้นฟูการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ โดยเฉพาะอักษรโบราณ เช่น อักษรไทยน้อย  อักษรธรรมอีสาน อักษรธรรมล้านนา และอักษรขอม เป็นต้น ซึ่งท่านเป็นผู้มีความสามารถในการอ่านเขียนอักษรเหล่านั้นอย่างดี และฝึกสอนให้พระภิกษุสามเณร ตลอดถึงศาสนิกชนที่สนใจให้ได้เรียนจนชำนาญเป็นจำนวนมาก สามารถอ่านเขียน และจดจารลงในแผ่นใบลานได้ อันเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาอีกอย่างหนึ่ง
11. เผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยยึดหลักตามศาสนาธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ให้นับถือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ให้ละเว้นประเพณีถือภูตผีบูชายัญนอกศาสนา สอนให้เข้าใจหลักแห่งพุทธศาสนาที่แท้จริง ชักชวนเข้ามาเป็นพุทธมามกะเป็นจำนวนมาก
 
 พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นของดีรักษาตัวเราทุกคน
"พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ"

หมั่นทำบุญรักษาศีล เพื่อหนทางไปสวรรค์

พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต) วัดโนนสว่าง ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี.